งาน EMS EXPO 2003 Las Vegas

เยี่ยมชมสถานีดับเพลิง (Fire Station 1) และ ศูนย์บัญชาการการดับเพลิง (Fire Communication Center )

Fire Station 1
Fire Station 1 แห่งนี้เป็นสถานีดับเพลิงที่ใหญ่ที่สุดในลาสเวกัส มี firefirghter paramedic ประจำการกับรถพยาบาล medium duty 3 คัน คอยออกเหตุตาม dispatcher ที่แจ้งเข้ามา paramedic ambulance ใช้สีแดงเช่นเดียวกับรถดับ
เพลิงและรถ aierial ladder ชนิดที่มี tiller ด้านหลัง สถานีดับเพลิงแห่งนี้ถือได้ว่า busy ที่สุดในลาสเวกัส รถพยาบาลที่ประจำสถานีใน 1 shift 12 ชม.บางครั้งต้องออก
เหตุถึง 30 ครั้ง โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลที่มีนักท่องเที่ยวหลั่งไหลเข้ามา มากจนทำให้ประชากรเพิ่มเป็นสองเท่าจากปกติในขณะที่ทรัพยากรมีเท่าเดิม
การออกเหตุแต่ละครั้งจะปฏิบัติตามศูนย์ dispatch center โดยในเขต las vegas และ clark county จะปฏิบัติงานร่วมกับ amr และ southwest ambulance โดย amr ปฏิบัติหน้าที่ในเขตเมืองเป็นหลัก (downtown) ส่วน southwest ทำงานนอกเมืองและใน clark county แต่การสั่งการโดย emd จะสั่งการโดยดูจากระยะทางจากจุดที่เกิดเหตุที่รายงานโดยระบบ cad avls และ gps มากกว่าจะเลือกให้หน่วยใดทำงาน ในเหตุปกติจะมีการแบ่งระดับความเร่งด่วน alpha ไม่ใช้เสียง ไม่ใช้ไฟ beta ใช้เสียง ใช้ไฟ แต่ take it easy ส่วน delta คือ life threatening ในเหตุ 911 ทุเหตุถ้ามี las vegas paramedic ambulancre on scene จะถือว่ามีอำนาจเหนือ private ambulance คือจะสามารถสั่งการได้ว่าจะให้ private ambulance transport หรือไม่ กรณีถ้าเป็นเหตุในเขต las vegas county ทั้ง
amr and soutwestern ไม่มีสิทธิ์ transport ผู้บาดเจ็บ mvc ยกเว้นได้รับการ
ร้องขอจาก las vegas paramedic

การเก็บเงินเก็บจาก insurance ของผู้ป่วย โดยมีค่าใช้จ่ายตาม level of care
ประมาณ 500usd ต่อ 1 trip สำหรับ advanced life support ในขณะที่
paramedic ไม่สามารถปฏิเสธการรักษาและ transport ได้เมื่อผู้ป่วยไม่มี
insurance

ภายใน fire station มีช่องสำหรับ slide ตัวของ paramedic จากชั้นสองที่พัก มีอุปกรณ์และของใช้ที่จำเป็นได้แก่ครัวที่ค่อนข้างใหญ่และสมบูรณ์ครบครัน
(แต่ chief บอกว่าเล็กเกินไป??) มีห้องพักผ่อนชั้นบน visitor
ไม่อนุญาตให้เข้าชม ระหว่างที่บรรยายและตอบคำถามในห้องครัวมีเสียง
dispatch ผ่านลำโพงที่ติดตั้งทั่วทั้งอาคาร

มีการกด tone และประกาศสั่งการ paramedic ให้ออกเหตุ เสียงพูดดังฟังชัด ช้า และชัดถ้อยชัดคำมาก ดูเป็นเสียง professional ดี ทราบมาภายหลังว่า paramedic เรียกเสียง dispatch คนนี้ว่า voice lady คือเสียง dispatch ที่จะได้ยินทุกๆวันแต่ส่วนใหญ่ไม่เคยเห็นหน้า หลังเสียง dispatch มีเสียงเพจเจอร์ของหลายคนดัง paramedic นำรถออกจากฐานภายใน 1 นาทีเพื่อเดินทางไปที่เกิดเหตุ (ไม่ได้ติดตาม)

จากการสังเกตยานพาหนะ ทุกคันมีระบบคอมพิวเตอร์ในรถ ภายนอกรถสะอาดและดูใหม่ทุกคัน (อาจจะเป็นเพราะเป็นช่วงกลางคืน) บ่งชี้ถึงความเอาใจใส่ของ paramedic ภายในรถส่วนใหญ่วางของไม่ค่อยเป็นระเบียบและขาดการดูและความ
สะอาดไปบ้าง รถที่จอดในฐานทุกคัน ท่อไอเสียจะถูกเชื่อมต่อกับสายยางเพื่อป้องกันมลภาวะในสถานีเพราะอากาศ
ค่อนข้างปิด บางคันมีแบตเตอรี่ต่อกับสายไฟที่ภายนอกรถ

paramedic ทุกคนดูร่างกายแข็งแรงมาก ชุดยูนิฟอร์มเป็นเพียงกางเกงขาสั้นที่มีกระเป๋าที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ เสื้อยืดโปโลสีดำปักตรา las vegas paramedic เล็กๆด้านหน้าดูเหมาะสมกับอากาศและสภาพแวดล้อมดี

las vegas fire ambulance ทุกคันมีสติกเกอร์เขียนว่า iso class 1 ปลว่ารถพยาบาลในหน่วยนี้ถูกจัดลำดับโดย iso ว่าอยู่ในระดับดีมาก iso คือ
insurance service organization โดย class 1 หน่วยงานจะจ่ายค่า
insurance ที่ต่ำ las vegas fire เปิดโอกาสให้ประชาชนเลือก โดยประชาชนเลือกที่จะให้มีการทุ่มงบประมาณในการรักษาคุณภาพ las vegas ambulance ให้อยู่ในระดับดี เนื่องจากการหลุดมาที่ iso class 2 นั้น ค่าเบี้ยประกันจะสูงมาก โดยส่วนต่างของเบี้ยประกันระหว่าง class 1 กับ class 2 จะสูงมากเกินกว่างบประมาณที่ทุ่มลงไปในการพัฒนา las vegas fire’s ambulance เพื่อรักษาระดับ class 1 ไว้

fire chief พาเดินไปดูอีกอาคาร เป็นอาคาร administration ที่ชั้นบนสุดเป็น fire communication center chief พาเข้าไปดูห้อง emergency operations center เป็นห้อง war room ที่รวมหน่วยงาน public safety และหน่วยงานเกี่ยวเนื่องทุกหน่วยอยู่ในห้องเดียวกัน ในห้องมีทีวีจอใหญ่
3 จอด้านหน้า และทีวีด้านหลังจอเล็กอีก 3 จอไว้ดูข่าว ตรงกลางห้องเป็นโต๊ะ
ประชุมขนาดประมาณ 20 ที่นั่ง รอบห้องมีโต๊ะนั่งเขียนตำแหน่งของคนนั่ง เช่น public works, weather, shelter, health, etc ในแต่ละตำแหน่งมีคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์และวิทยุสื่อสาร เมื่อมีเหตุฉุกเฉินเช่น แผ่นดินไหว ก่อการร้าย บุคลากรที่ถูกกำหนดไว้ล่วงหน้าจะถูกตามตัวด้วยเพจเจอร์ภายใน 5 นาที
เพื่อให้มายังห้องนี้ การทำงานร่วมกันสามารถกระทำได้โดยไม่ต้อง relay ผ่านวิทยุหรือผ่านเครือข่ายการสื่อสารใดๆเพราะทุกหน่วยงานที่เกี่ยวเนื่อง
อยู่ในห้องเดียวกัน

chief พาเดินขึ้นไปชั้นบนสุดเพื่อไปดู fire communication center เมื่อไปถึง
call taker คนหนึ่งกำลังสอน cpr ทางโทรศัพท์อยู่พอดี ได้เข้าฟังอย่างใกล้ชิด น้ำเสียง call taker ฟังดู professional มาก ไม่มีอาการตื่นเต้นแม้แต่น้อย สามารถให้คำแนะนำได้ด้วยน้ำเสียงราบเรียบ ไม่มีการเปิดดู protocol
ที่วางอยู่ข้างๆ แต่ง่วนอยู่กับการคึย์ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ จนเมื่อ paramedic ไปถึงที่เกิดเหตุแล้ว take over cpr ต่อ call taker กล่าวขอบคุณและให้กำลังใจ (you did a great job!) แนะนำให้วางหูโทรศัพท์ได้

ลักษณะการทำงานของที่นี เมื่อมีการโทรไปที่ 911 จะไปติดที่ psap
(public afety answering point) ของตำรวจเสมอ (เหมือน 191 เมืองไทยเลย) ถ้าเป็นคดี-อาชญากรรม ตำรวจจะรับเรื่อง แต่ถ้าเป็นเหตุคนเจ็บป่วยจะมีการโอนสายมาที่นี่ เพราะฉะนั้นโทรศัพท์ที่มาที่นี่จะมีการกรองก่อนแล้วอย่างน้อย 1 ชั้น

ในห้อง fire communication center เป็นห้องไม่ใหญ่นัก ไฟถูกเปิดสลัวๆ ในบริเวณที่จำเป็นเท่านั้น นัยว่าเพื่อให้ emd มีสมาธิในการทำงาน (ตามประสบการณ์ของผม ห้อง emd ที่ได้เคยไปดูจะเป็นลักษณะนี้หมด) ในห้องมีโต๊ะทำงานประมาณ 10 โต๊ะ บางคนเป็น call taker บางคนเป็น dispatcher และมี 1 โต๊ะเป็น supervisor แต่ละโต๊ะมีจอมอนิเตอร์ 5 จอ 3 จอตรงกลางเกี่ยวกับ call handling มีเมาส์ควบคุม 3 จอตรงกลางเมาส์เดียว มีคีย์บอร์ดแยกต่างหากสำหรับจอด้านซ้ายสุดและด้านขวาสุด เมื่อมีการคลิกจอตรงกลาง หนึ่งในสามจอจะเปลี่ยนโดยการ pop up ข้อมูลที่ถูกเลือกขึ้นมา… เปลี่ยนไปดูการทำงานของโต๊ะ emd เธอได้อธิบายไปด้วยว่าแต่ละจอทำงานอย่างไรอย่างคร่าวๆ เมื่อ call taker รับโทรศัพท์ มีการคีย์ข้อมูลเข้าไป ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นระบบที่ทัน
สมัยมากจะหา unit ที่ใกล้ที่สุดทันทีโดยไม่สนใจว่า unit นั้นเป็น amr southwestern หรือเป็น las vegas fire’s ambulance เอง ระบบจะตัดสินใจโดยดูจากคำที่ call taker คีย์เข้าไปว่าควรจะส่งหน่วยใดไปที่เกิดเหตุ (bls หรือ als) เมื่อมีการ
dispatch แถบสีในเหตุนั้นๆจะกระพริบ จะหยุดกระพริบเมื่อ unit เปลี่ยน
status เป็น responding (โดยการกดปุ่มภายใน ambulance) โดยปกติ 1-2 นาทีแต่ถ้าเกิน 3 นาทีใน code delta นั้น emd จะ เพจหา paramedic อีกครั้งหรือตาม mutual aid จากหน่วยอื่นข้างเคียงแทน สำหรับการ cancel
หรือ add resource สามารถทำได้ด้วยการคลิกเม้าส์ขวาในแต่ละ tap เหตุ สำหรับการจัดการด้านแผนที่จะแบ่งเป็น grid

แต่ละ grid เป็นตารางสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดยาวและกว้างประมาณ 0.5 ไมล์
แต่ละ grid ถุกกำหนดเป็น id ตัวเลข 4 ตัวที่เป็นมาตรฐานอ้างอิงเหมือนกันทุกหน่วยงานใน las vegas ทำให้การประสานข้ามหน่วยงานสามารถทำได้ง่ายในแง่ของการหาพื้นที่
เกิดเหตุ และเนื่องจากเมืองมีการขยายออกเรื่อยๆ จึงต้องมีการอัปเดท
แผนที่ทุก 2-3 สัปดาห์โดยเฉพาะการเพิ่มถนนเส้นใหม่ และชุมชนที่เกิด
ขึ้นใหม่ๆ ลงในระบบ cad (computer aided dispatch) จอของ emd
ด้านขวาสุด

เป็นจอควบคุมวิทยุสื่อสาร emd สามารถใช้เมาส์คลิกฟังเสียงได้ตามคลื่นต่างๆ เมื่อใช้เมาส์คลิกที่รูปสายฟ้าที่ข่ายใดๆที่โชว์บนจอ จะเป็นการ transmit สัญญาณที่ข่ายวิทยุนั้นๆ โดยปกติ emd คุยกับ unit น้อยครั้งมาก ระหว่างที่สังเกตการณ์ ได้มีเหตุเข้ามา ระบบคอมพิวเตอร์ได้ assign เหตุให้กับ unit หนึ่ง แต่มีอีกหน่วยหนึ่งที่คาดว่าอยู่ใกล้กว่าได้ contact เข้ามาทางวิทยุ (แต่ unit นี้ไม่โชว์ใน map) dispatcher ไม่แน่ใจว่า unit ใดใกล้กว่า ระหว่างนี้ทั้งสอง unit เริ่มเดินทางไปที่เกิดเหตุ emd ตัดสินใจ cancel unit แรกให้กลับฐาน

ความประทับใจคือเทคโนโลยีที่ทันสมัยและความสามารถของ call taker และ dispatcher ที่ดู professional ทุกคน