PROMEDIC ขอขอบคุณ มูลนิธิสว่างรัตนตรัยธรรมสถาน จ.สระบุรี ที่มอบความไว้วางใจให้เราได้จัดจำหน่าย
รถยนต์กู้ภัย-ดับเพลิง ส่องสว่าง เคลื่อนที่เร็ว โดยมีรายละเอียดดังนี้
-ตู้เก็บอุปกรณ์กู้ภัย ผลิตจากวัสดุอลูมิเนียม ผลิตภัณฑ์ PROMEDIC
-เครื่องตัดถ่าง ชุดใหญ่ ผลิตภัณฑ์ TNT ประเทศสหรัฐอเมริกา
-เครื่องดับเพลิงแรงดันสูง ผลิตภัณฑ์ EJ METAL ประเทศสหรัฐอเมริกา
-ไฟส่องสว่างแบบ LED ผลิตภัณฑ์ WHELEN ประเทศสหรัฐอเมริกา
-สัญญาณไฟฉุกเฉิน ผลิตภัณฑ์ AXIXTECH ,สัญญาณเสียงไซเรน ผลิตภัณฑ์ WHELEN ประเทศสหรัฐอเมริกา
ผลิตภัณฑ์ ดังกล่าว ออกแบบ ตกแต่ง นำเข้าและจัดจำหน่ายโดย PROMEDIC ผู้แทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการในประเทศไทย
โดยเจ้าหน้าที่ ที่ได้รับการฝึกอบรมและศึกษาดูงานจากโรงงานผู้ผลิตในต่างประเทศโดยตรง ท่านจึงมั่นใจในคุณภาพและประสบการณ์จากเราได้ 100%
Author: pro-admin
รถวิทยุตรวจการณ์ ตำรวจทางหลวง จำนวน 33 คัน
ส่งเรียบร้อย รถวิทยุตรวจการณ์ ตำรวจทางหลวง จำนวน 33 คัน
PROMEDIC ขอขอบพระคุณกองบังคับการตำรวจทางหลวง โดยกรมทางหลวง ที่มอบความไว้วางใจอย่างต่อเนื่องกว่า 4 ปีซ้อน ให้เราได้ออกแบบ ตกแต่งและจำหน่ายรถตำรวจทางหลวง โดยเราได้จัดอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับรถตำรวจทางหลวง ดังนี้
– อุปกรณ์ปฐมพยาบาล เฝือกดามคอ เฝือกดามกระดูกแขน-ขา(Sam Splint) อุปกรณ์ช่วยหายใจ ผ้าคลุมดับไฟ อุปกรณ์ห้ามเลือดทำแผล
– อุปกรณ์ช่วยเหลือประชาชนรถเสีย เครื่องมือช่าง ชุดเชือกลากรถ สายไฟพ่วง ถังน้ำมันสำรอง
– ถุงลมกู้ภัยยกรถ สำหรับช่วยชีวิตกรณีผู้บาดเจ็ยติดใต้ท้องรถ หรือเปลี่ยนยางรถ
– ไฟฉายกันระเบิด ผลิตภัณฑ์ Streamlight
– สัญญาณไฟฉุกเฉินแถวยาวด้านบนหลังคา รุ่น Fusion ผลิตภัณฑ์ ……… ประเทศสหรัฐอเมริกา
-สัญญาณไฟฉุกเฉินรอบคัน ผลิตภัณฑ์ AXIXTECH
-เสียงไซเรน รุ่น 295SDA1 ผลิตภัณฑ์WHELEN
-ลำโพงไซเรนรุ่น Triton ผลิตภัณฑ์ Feniex
-วิทยุสื่อสาร Motorola พร้อมเสาส่งสัญญาณ Laird
-ออกแบบ ติดตั้ง จำหน่ายและบริการ
โดย PROMEDIC ผู้แทนจำหน่าย
WHELEN , AXIXTECH , FENIEX แต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย
ขอบคุณครับ
โปรเมดิกส์ขอร่วมสมทบทุนสร้างพระตำหนักพระโพธิสัตว์
โปรเมดิกส์ ขอร่วมสมทบทุนก่อสร้างพระตำหนักพระโพธิสัตว์กวนอิม และ อาคารศูนย์บรรเทาสาธารณภัยประชาร่วมใจนครศรีธรรมราช ด้วยมูลนิธิประชาร่วมใจนครศรีธรรมราช ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2525 เลขที่ 1804/2525 ได้ดำเนินงานด้านการช่วยเหลือผู้ประสบภัย ส่งเสริมทุนการศึกษา การศาสนา และ สาธารณประโยชน์อื่นตามวัตถุประสงค์มาโดยตลอด และเมื่อ พ.ศ.2532 ทางมูลนิธิฯ ได้ขยายงานด้านบรรเทาสาธารณภัยช่วยเหลือผู้ประสบภัยต่างๆ ทั้งในจังหวัดนครศรีธรรมราช และ จังหวัดใกล้เคียง ตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ.2532 เป็นต้นมา
ในการดำเนินการด้านบรรเทาสาธารณภัยของมูลนิธิฯ แม้จะมีผู้บริจาคเงินสนับสนุนตลอดมา แต่ก็ไม่เพียงพอเพราะมีค่าใช้จ่ายสูงมาก ประกอบกับมูลนิธิฯ ได้รับบริจาคเงินในการจัดซื้อที่ดิน เนื้อที่ 10 ไร่ 3 ตารางวา โฉนดที่ดินเลขที่ 112436 เลขที่ดิน 881 หน้าสำรวจ 13237 ตั้งอยู่ริมถนนเฉลิมพระเกียรติ ต.ปากนคร อ.เมืองนครศรีธรรมราช มูลนิธิฯ จึงมีโครงการก่อสร้างศูนย์บรรเทาสาธารณภัย เพื่อที่จะใช้สถานที่แห่งนี้ โดยจัดกิจกรรมที่สามารถทำประโยชน์ให้กับประชาชน และเยาวชนในหลายๆ ด้าน เช่น การสอนภาษา จีนกลาง ภาษาอังกฤษ ให้แก่เด็กเล็กและเยาวชน รวมถึงเป็นศูนย์ปฏิบัติธรรมสำหรับประชาชนทั่วไป
อีกทั้งจะเป็นที่ประดิษฐานพระมหาโพธิสัตว์กวนอิม จำลองแบบและสร้างตามหลักพุทธพิธีแบบจีน ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ซึ่งจะอัญเชิญมาประดิษฐาน ที่ตำหนักของศูนย์บรรเทาสาธารณภัย มูลนิธิประชาร่วมใจนครศรีธรรมราช
ประมาณการค่าก่อสร้างอาคารแรก 15 ล้านบาท และงบประมาณเบื้องต้นสำหรับการถมดินปรับพื้นที่คือ 3 ล้านบาท หรือ 190 บาทต่อตารางเมตร (พื้นที่ทั้งหมดคือ 16,000 ตารางเมตร) จึงขอเชิญผู้มีจิตศรัทธา และ เน็ตกู้ชีพกู้ภัย ร่วมบริจาคเงินเพื่อสมทบค่าถมดิน และ ค่าก่อสร้าง ได้ที่ สำนักงานมูลนิธิประชาร่วมใจนครศรีธรรมราช วัดบูรณาราม
โอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ ธนาคารไทยพาณิชย์
ชื่อบัญชื่อ “สร้างอาคารมูลนิธิประชาร่วมใจ” สาขาย่อยเพชรเกษม ซอย 18 บัญชีเลขที่ 070-2-04481-3
หรือ สาขานครศรีธรรมราช บัญชีเลขที่ 553-2-43215-5
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
0-7534-5599, 0-7552-9168 ตลอด 24 ชั่วโมง
พณฯ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ผู้แทนบริจาครถพยาบาล
คณะศิษยานุศิษ วัดป่าด่านวิเวก นำโดย พณฯ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นผู้แทนบริจาครถพยาบาล 10 คัน โดยมีความไว้วางใจให้ “โปรเมดิกส์” ในการออกแบบตกแต่ง ภายในรถ และเลือกอุปกรณ์ช่วยชีวิตที่เหมาะสมให้กับ หน่วยงานที่จะเป็นผู้ใช้รถ ดังนี้
กรมแพทย์ทหารบก 5 คัน
กรมแพทย์ทหารเรือ 2 คัน
กรมแพทย์ทหารอากาศ 2 คัน
กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน 1 คัน
โปรเมดิกส์นำทีมงาน ศึกษา-อบรม เครื่องตัด-ถ่าง AMKUS
โสถิติอุบัติเหตุทางรถยนต์ นับวันจะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกวันเนื่องมาจากความ
เจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยียานยนต์ สภาพถนนที่ดีขึ้น ทำให้รถใช้ความเร็ว
ได้มากกว่าแต่ก่อนประกอบกับการขับขี่ที่ขาดวินัย ขับรถขณะเมาสุราทำให้มีผู้บาดเจ็บ
และเสียชีวิตเป็นจำนวนมากเมื่อเกิดเหตุ
ปัจจุบันมีหลายหน่วยงานที่มีใช้เครื่องตัด-ถ่างกู้ภัยคอยออกให้ความช่วยเหลือ
แก่ผู้ประสบภัยเมื่อเกิดอุบัติเหตุ แต่ส่วนมากยังไม่ได้รับการการเรียนการสอน
ที่ถูกวิธีในการใช้เครื่องมือเหล่านี้ อย่างถูกต้อง เหมาะสม ทำให้อาจเกิด
อันตรายแก่ตัวนักกู้ภัย และตัวผู้ประสบภัยได้ เพื่อที่จะแก้ปัญหา และลดความ
สูญเสียที่อาจจะ เกิดขึ้น อันเนื่องมาจากการใช้เครื่องมืออย่างไม่ถูกวิธี ทางโปรเมดิกส์จึงได้ประสานความร่วมมือไปยังผู้ผลิตเครื่องตัด-ถ่าง AMKUS
ให้จัดหลักสูตรการใช้ การซ่อมบำรุง และการช่วยเหลือผู้ที่ติดอยู่ในซากรถขึ้น ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก มีเพื่อน ร่วมชั้นเรียนจาก
ประเทศต่าง ๆ เช่น สหรัฐฯ ญี่ปุ่น แคนาดา อังกฤษ ไทย และแอฟริกาใต้ ที่เมือง DOWNERS GORVE ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยที่การเดิน ทางไปอบรมในครั้งนี้ ทางโปรเมดิกส์ได้ส่งผู้เข้าอบรมถึงสามคน จากหน่วยงานมูลนิธิร่วมกตัญญู
และศูนย์กู้ชีพ ” นเรนทร ” เพื่อที่จะกลับมาถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ แก่นักกู้ภัยบ้านเรา
ผู้เข้าอบรมได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมชมการผลิตเครื่องตัดถ่างที่มีการใช้เครื่องจักรที่
ทันสมัย มีการควบคุมคุณภาพในการผลิตทุกขั้นตอน ที่สูงมาก กว่าจะมาเป็น
เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ เชื่อถือได้ และปลอดภัย การดูแลรักษาและซ่อมบำรุง
เครื่อง อย่างถูกต้องและสม่ำ เสมอก็เป็นอีกปัจจัยหลัก ที่จะทำให้คงประสิทธิภาพ
ของเครื่องให้พร้อมใช้ช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ตลอดเวลา ในหลักสูตรนี้ ทำให้
ทราบถึงวิธีการดูแลรักษาเครื่องมือ และการซ่อมแซม เปลี่ยนชิ้นส่วนที่ชำรุด
สึกหรอ ซึ่งทำให้ทราบว่าไม่ง่ายเลยหากจะทำการซ่อมเอง โดยที่ไม่ผ่าน
การอบรมก่อน
การใช้เครื่องตัด-ถ่างที่ถูกวิธี เหมาะสม มีความสำคัญมาก หากใช้ไม่ถูกต้องจะทำ
ให้เกิดอันตรายต่อตัวผู้ใช้เอง และผู้ที่ถูกช่วยเหลือได้ หลักสูตรนี้ทำให้ผู้เข้าอบรม
ได้ความรู้ ความกระจ่างมากกว่าเดิม ซึ่งทำให้ทราบว่าการใช้ประสบการณ์จากการ
ทำงานกู้ภัยนั้อย่าง เดียวนั้นไม่เพียงพอ แต่จำเป็นจะต้อง มีทฤษฎีและความรู้เรื่อง
เทคโนโลยีโครงสร้างตัวถังรถสมัยใหม่ด้วย การที่ได้มาอบรมในครั้งนี้ทำให้เราได้รับ
ความรู้ ความเข้าใจขึ้นอย่างมาก
การทำงานกู้ภัยให้ประสบความสำเร็จนั้นประกอบไปด้วยปัจจัยหลายๆอย่างด้วยกัน แต่ปัจจัยหลักจะอยู่ที่ผู้ปฏิบัติ ซึ่งจะต้องมี ความรู้ ความสามารถ มีความกระตือรือร้น
ต่อการที่จะเรียนรู้ หาความรู้เพิ่มเติมในสิ่งใหม่ๆ และต้องออกไปปฏิบัติอยู่เสมอ โปรเมดิกส์หวังว่า จะเป็นอีกหนึ่งกำลังในการที่จะช่วยเสริมสร้างความรู้ความสามารถ
ของนักดับเพลิง-กู้ชีพ-กู้ภัยเมืองไทย
งาน EMS EXPO 2003 Las Vegas
เยี่ยมชมสถานีดับเพลิง (Fire Station 1) และ ศูนย์บัญชาการการดับเพลิง (Fire Communication Center )
Fire Station 1
Fire Station 1 แห่งนี้เป็นสถานีดับเพลิงที่ใหญ่ที่สุดในลาสเวกัส มี firefirghter paramedic ประจำการกับรถพยาบาล medium duty 3 คัน คอยออกเหตุตาม dispatcher ที่แจ้งเข้ามา paramedic ambulance ใช้สีแดงเช่นเดียวกับรถดับ
เพลิงและรถ aierial ladder ชนิดที่มี tiller ด้านหลัง สถานีดับเพลิงแห่งนี้ถือได้ว่า busy ที่สุดในลาสเวกัส รถพยาบาลที่ประจำสถานีใน 1 shift 12 ชม.บางครั้งต้องออก
เหตุถึง 30 ครั้ง โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลที่มีนักท่องเที่ยวหลั่งไหลเข้ามา มากจนทำให้ประชากรเพิ่มเป็นสองเท่าจากปกติในขณะที่ทรัพยากรมีเท่าเดิม
การออกเหตุแต่ละครั้งจะปฏิบัติตามศูนย์ dispatch center โดยในเขต las vegas และ clark county จะปฏิบัติงานร่วมกับ amr และ southwest ambulance โดย amr ปฏิบัติหน้าที่ในเขตเมืองเป็นหลัก (downtown) ส่วน southwest ทำงานนอกเมืองและใน clark county แต่การสั่งการโดย emd จะสั่งการโดยดูจากระยะทางจากจุดที่เกิดเหตุที่รายงานโดยระบบ cad avls และ gps มากกว่าจะเลือกให้หน่วยใดทำงาน ในเหตุปกติจะมีการแบ่งระดับความเร่งด่วน alpha ไม่ใช้เสียง ไม่ใช้ไฟ beta ใช้เสียง ใช้ไฟ แต่ take it easy ส่วน delta คือ life threatening ในเหตุ 911 ทุเหตุถ้ามี las vegas paramedic ambulancre on scene จะถือว่ามีอำนาจเหนือ private ambulance คือจะสามารถสั่งการได้ว่าจะให้ private ambulance transport หรือไม่ กรณีถ้าเป็นเหตุในเขต las vegas county ทั้ง
amr and soutwestern ไม่มีสิทธิ์ transport ผู้บาดเจ็บ mvc ยกเว้นได้รับการ
ร้องขอจาก las vegas paramedic
การเก็บเงินเก็บจาก insurance ของผู้ป่วย โดยมีค่าใช้จ่ายตาม level of care
ประมาณ 500usd ต่อ 1 trip สำหรับ advanced life support ในขณะที่
paramedic ไม่สามารถปฏิเสธการรักษาและ transport ได้เมื่อผู้ป่วยไม่มี
insurance
ภายใน fire station มีช่องสำหรับ slide ตัวของ paramedic จากชั้นสองที่พัก มีอุปกรณ์และของใช้ที่จำเป็นได้แก่ครัวที่ค่อนข้างใหญ่และสมบูรณ์ครบครัน
(แต่ chief บอกว่าเล็กเกินไป??) มีห้องพักผ่อนชั้นบน visitor
ไม่อนุญาตให้เข้าชม ระหว่างที่บรรยายและตอบคำถามในห้องครัวมีเสียง
dispatch ผ่านลำโพงที่ติดตั้งทั่วทั้งอาคาร
มีการกด tone และประกาศสั่งการ paramedic ให้ออกเหตุ เสียงพูดดังฟังชัด ช้า และชัดถ้อยชัดคำมาก ดูเป็นเสียง professional ดี ทราบมาภายหลังว่า paramedic เรียกเสียง dispatch คนนี้ว่า voice lady คือเสียง dispatch ที่จะได้ยินทุกๆวันแต่ส่วนใหญ่ไม่เคยเห็นหน้า หลังเสียง dispatch มีเสียงเพจเจอร์ของหลายคนดัง paramedic นำรถออกจากฐานภายใน 1 นาทีเพื่อเดินทางไปที่เกิดเหตุ (ไม่ได้ติดตาม)
จากการสังเกตยานพาหนะ ทุกคันมีระบบคอมพิวเตอร์ในรถ ภายนอกรถสะอาดและดูใหม่ทุกคัน (อาจจะเป็นเพราะเป็นช่วงกลางคืน) บ่งชี้ถึงความเอาใจใส่ของ paramedic ภายในรถส่วนใหญ่วางของไม่ค่อยเป็นระเบียบและขาดการดูและความ
สะอาดไปบ้าง รถที่จอดในฐานทุกคัน ท่อไอเสียจะถูกเชื่อมต่อกับสายยางเพื่อป้องกันมลภาวะในสถานีเพราะอากาศ
ค่อนข้างปิด บางคันมีแบตเตอรี่ต่อกับสายไฟที่ภายนอกรถ
paramedic ทุกคนดูร่างกายแข็งแรงมาก ชุดยูนิฟอร์มเป็นเพียงกางเกงขาสั้นที่มีกระเป๋าที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ เสื้อยืดโปโลสีดำปักตรา las vegas paramedic เล็กๆด้านหน้าดูเหมาะสมกับอากาศและสภาพแวดล้อมดี
las vegas fire ambulance ทุกคันมีสติกเกอร์เขียนว่า iso class 1 ปลว่ารถพยาบาลในหน่วยนี้ถูกจัดลำดับโดย iso ว่าอยู่ในระดับดีมาก iso คือ
insurance service organization โดย class 1 หน่วยงานจะจ่ายค่า
insurance ที่ต่ำ las vegas fire เปิดโอกาสให้ประชาชนเลือก โดยประชาชนเลือกที่จะให้มีการทุ่มงบประมาณในการรักษาคุณภาพ las vegas ambulance ให้อยู่ในระดับดี เนื่องจากการหลุดมาที่ iso class 2 นั้น ค่าเบี้ยประกันจะสูงมาก โดยส่วนต่างของเบี้ยประกันระหว่าง class 1 กับ class 2 จะสูงมากเกินกว่างบประมาณที่ทุ่มลงไปในการพัฒนา las vegas fire’s ambulance เพื่อรักษาระดับ class 1 ไว้
fire chief พาเดินไปดูอีกอาคาร เป็นอาคาร administration ที่ชั้นบนสุดเป็น fire communication center chief พาเข้าไปดูห้อง emergency operations center เป็นห้อง war room ที่รวมหน่วยงาน public safety และหน่วยงานเกี่ยวเนื่องทุกหน่วยอยู่ในห้องเดียวกัน ในห้องมีทีวีจอใหญ่
3 จอด้านหน้า และทีวีด้านหลังจอเล็กอีก 3 จอไว้ดูข่าว ตรงกลางห้องเป็นโต๊ะ
ประชุมขนาดประมาณ 20 ที่นั่ง รอบห้องมีโต๊ะนั่งเขียนตำแหน่งของคนนั่ง เช่น public works, weather, shelter, health, etc ในแต่ละตำแหน่งมีคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์และวิทยุสื่อสาร เมื่อมีเหตุฉุกเฉินเช่น แผ่นดินไหว ก่อการร้าย บุคลากรที่ถูกกำหนดไว้ล่วงหน้าจะถูกตามตัวด้วยเพจเจอร์ภายใน 5 นาที
เพื่อให้มายังห้องนี้ การทำงานร่วมกันสามารถกระทำได้โดยไม่ต้อง relay ผ่านวิทยุหรือผ่านเครือข่ายการสื่อสารใดๆเพราะทุกหน่วยงานที่เกี่ยวเนื่อง
อยู่ในห้องเดียวกัน
chief พาเดินขึ้นไปชั้นบนสุดเพื่อไปดู fire communication center เมื่อไปถึง
call taker คนหนึ่งกำลังสอน cpr ทางโทรศัพท์อยู่พอดี ได้เข้าฟังอย่างใกล้ชิด น้ำเสียง call taker ฟังดู professional มาก ไม่มีอาการตื่นเต้นแม้แต่น้อย สามารถให้คำแนะนำได้ด้วยน้ำเสียงราบเรียบ ไม่มีการเปิดดู protocol
ที่วางอยู่ข้างๆ แต่ง่วนอยู่กับการคึย์ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ จนเมื่อ paramedic ไปถึงที่เกิดเหตุแล้ว take over cpr ต่อ call taker กล่าวขอบคุณและให้กำลังใจ (you did a great job!) แนะนำให้วางหูโทรศัพท์ได้
ลักษณะการทำงานของที่นี เมื่อมีการโทรไปที่ 911 จะไปติดที่ psap
(public afety answering point) ของตำรวจเสมอ (เหมือน 191 เมืองไทยเลย) ถ้าเป็นคดี-อาชญากรรม ตำรวจจะรับเรื่อง แต่ถ้าเป็นเหตุคนเจ็บป่วยจะมีการโอนสายมาที่นี่ เพราะฉะนั้นโทรศัพท์ที่มาที่นี่จะมีการกรองก่อนแล้วอย่างน้อย 1 ชั้น
ในห้อง fire communication center เป็นห้องไม่ใหญ่นัก ไฟถูกเปิดสลัวๆ ในบริเวณที่จำเป็นเท่านั้น นัยว่าเพื่อให้ emd มีสมาธิในการทำงาน (ตามประสบการณ์ของผม ห้อง emd ที่ได้เคยไปดูจะเป็นลักษณะนี้หมด) ในห้องมีโต๊ะทำงานประมาณ 10 โต๊ะ บางคนเป็น call taker บางคนเป็น dispatcher และมี 1 โต๊ะเป็น supervisor แต่ละโต๊ะมีจอมอนิเตอร์ 5 จอ 3 จอตรงกลางเกี่ยวกับ call handling มีเมาส์ควบคุม 3 จอตรงกลางเมาส์เดียว มีคีย์บอร์ดแยกต่างหากสำหรับจอด้านซ้ายสุดและด้านขวาสุด เมื่อมีการคลิกจอตรงกลาง หนึ่งในสามจอจะเปลี่ยนโดยการ pop up ข้อมูลที่ถูกเลือกขึ้นมา… เปลี่ยนไปดูการทำงานของโต๊ะ emd เธอได้อธิบายไปด้วยว่าแต่ละจอทำงานอย่างไรอย่างคร่าวๆ เมื่อ call taker รับโทรศัพท์ มีการคีย์ข้อมูลเข้าไป ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นระบบที่ทัน
สมัยมากจะหา unit ที่ใกล้ที่สุดทันทีโดยไม่สนใจว่า unit นั้นเป็น amr southwestern หรือเป็น las vegas fire’s ambulance เอง ระบบจะตัดสินใจโดยดูจากคำที่ call taker คีย์เข้าไปว่าควรจะส่งหน่วยใดไปที่เกิดเหตุ (bls หรือ als) เมื่อมีการ
dispatch แถบสีในเหตุนั้นๆจะกระพริบ จะหยุดกระพริบเมื่อ unit เปลี่ยน
status เป็น responding (โดยการกดปุ่มภายใน ambulance) โดยปกติ 1-2 นาทีแต่ถ้าเกิน 3 นาทีใน code delta นั้น emd จะ เพจหา paramedic อีกครั้งหรือตาม mutual aid จากหน่วยอื่นข้างเคียงแทน สำหรับการ cancel
หรือ add resource สามารถทำได้ด้วยการคลิกเม้าส์ขวาในแต่ละ tap เหตุ สำหรับการจัดการด้านแผนที่จะแบ่งเป็น grid
แต่ละ grid เป็นตารางสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดยาวและกว้างประมาณ 0.5 ไมล์
แต่ละ grid ถุกกำหนดเป็น id ตัวเลข 4 ตัวที่เป็นมาตรฐานอ้างอิงเหมือนกันทุกหน่วยงานใน las vegas ทำให้การประสานข้ามหน่วยงานสามารถทำได้ง่ายในแง่ของการหาพื้นที่
เกิดเหตุ และเนื่องจากเมืองมีการขยายออกเรื่อยๆ จึงต้องมีการอัปเดท
แผนที่ทุก 2-3 สัปดาห์โดยเฉพาะการเพิ่มถนนเส้นใหม่ และชุมชนที่เกิด
ขึ้นใหม่ๆ ลงในระบบ cad (computer aided dispatch) จอของ emd
ด้านขวาสุด
เป็นจอควบคุมวิทยุสื่อสาร emd สามารถใช้เมาส์คลิกฟังเสียงได้ตามคลื่นต่างๆ เมื่อใช้เมาส์คลิกที่รูปสายฟ้าที่ข่ายใดๆที่โชว์บนจอ จะเป็นการ transmit สัญญาณที่ข่ายวิทยุนั้นๆ โดยปกติ emd คุยกับ unit น้อยครั้งมาก ระหว่างที่สังเกตการณ์ ได้มีเหตุเข้ามา ระบบคอมพิวเตอร์ได้ assign เหตุให้กับ unit หนึ่ง แต่มีอีกหน่วยหนึ่งที่คาดว่าอยู่ใกล้กว่าได้ contact เข้ามาทางวิทยุ (แต่ unit นี้ไม่โชว์ใน map) dispatcher ไม่แน่ใจว่า unit ใดใกล้กว่า ระหว่างนี้ทั้งสอง unit เริ่มเดินทางไปที่เกิดเหตุ emd ตัดสินใจ cancel unit แรกให้กลับฐาน
ความประทับใจคือเทคโนโลยีที่ทันสมัยและความสามารถของ call taker และ dispatcher ที่ดู professional ทุกคน
การออกปฎิบัติงานร่วมกับรถฉุกเฉิน
การออกปฎิบัติงานร่วมกับรถฉุกเฉิน American Medical Response (AMR)
ก่อนได้ ride-along ได้มีโอกาสไปดูการทำงานใน dispatch center ของ amr เองโดยมีคนทำงานอยู่เพียงแค่ 3-4 คนระบบคอมพิวเตอร์ดูทันสมัยไม่แพ้ของ fire communication center ผมถามว่าทำไมต้องมี protocol สำหรับให้คำแนะนำผู้ป่วยอยู่ เนื่องจากเข้าใจว่า amr ทำตามคำสั่งของ fire communication center อยู่แล้ว ไม่มีการทำ call-taking โดยตรงกับผู้ป่วยเขาบอกว่า amr เคยมีเบอร์ 7 ตัวสำหรับเรียก ambulance เมื่อ 20-30 ปีก่อน ปัจจุบันหมายเลข 7 ตัวนั้นก็ยังใช้ได้อยู่โดยจะมาเข้าตรงที่ office นี้เพราะบางคนที่อายุมากเคยเรียก ambulance ยังไงเมื่อ 30 ปีก่อนก็ยังเรียกแบบนั้นในปัจจุบันจึงต้องมีไว้เผื่อมีคนโทรมาที่ amr โดยตรงโดยใช้หมายเลข 7 ตัวโดยไม่ผ่านระบบ 911
amr ตามที่ได้บอกว่าเป็น private ambulance ที่บริการพื้นที่หลักคือในเมือง (downtown) มีรถประมาณ 30 unit ใน 1 shift การ ride-along ผมได้เปลี่ยนชุดเป็นยูนิฟอร์มของหน่วยกู้ชีพนเรนทร มีการฮือฮากันพอสมควรเนื่องจากดูแปลกตา (สำหรับเขา) บางคนทักว่าเรามาจากฮ่องกง ระหว่างที่ sign release form อยู่ emt-i praticia คนที่ผมจะ ride-along ด้วยวันนี้บอกว่ามีเหตุให้ออกไปเลยตอนนี้ ผมรีบ sign form และออกไปกับรถ รถเปิดไซเรนไปถึงที่เกิดเหตุห่างออกไปจาก amr office เพียงแค่ 1 ไมล์เท่านั้นการขับรถใช้ความเร็วสูงกว่าปกติเพียงเล็กน้อย ไม่มีการขับรถกระชากอย่างรุนแรง ในที่เกิดเหตุพบ las vegas paramedic อยู่ในที่เกิดเหตุอยู่ก่อนแล้ว ผู้บาดเจ็บเป็นชายอายุประมาณ 30 ปีเนื้อตัวสกปรก คาดว่าเป็น homeless มีบาดแผลที่ศีรษะ ได้นั่งอยู่บนฟุตบาทริมถนนในลักษณะช่วยเหลือตัวเองได้เล็กน้อย
paramedic ของ amr ลงไปพูดคุยถามว่าเกิดอะไรขึ้น คนเจ็บไม่ตอบ paramedic พยุงคนเจ็บลุกขึ้น โดย paramedic ของ las vegas fire ได้เข้ามาช่วย นำคนเจ็บนอนบนเปลทำการวัดความดัน ให้ iv และปิดแผลที่ศีรษะด้วยผ้าก๊อซ นำส่งโรงพยาบาล county hospital ตลอดทางใช้ความเร็วปกติไม่ใช้ไซเรน ถึงโรงพยาบาล พบคนป่วยที่มากับรถพยาบาลคันอื่นก่อนหน้าเรา 2 คนกำลังรอเตียงว่าง triage nurse เข้ามาจัด priority ว่าใครควรได้เข้าก่อน เคสของเราได้รอเตียงว่างประมาณ 30 นาที (บางครั้งต้องรอเป็นชั่วโมงก็มี) paramedic จัดการ paperwork และทำความสะอาด ambulance ได้มีการสำรวจรถพยาบาล พบว่าเป็นแบบ type 3 ใช้รถ ford e350 เครื่องดีเซล ตัวรถภายนอกสภาพค่อนข้างดูเก่ากว่ารถของ las vegas fire ภายในขาดการทำความสะอาดค่อนข้างรกและวางของไม่ค่อยเป็นระเบียบ แต่อุปกรณ์ทุกอย่างถูกยึดตรึงไว้อย่างแน่นหนาดีทุกชิ้นภายในรถพบ console หน้าเป็นที่วาง siren ของ federal signal ถัดมาด้านล่างเป็น mdt คือตัวที่ใช้รายงาน status โดยเป็นลักษณะกดปุ่ม เช่น ปุ่ม 1 กดเมื่อ responding ปุ่ม 2 กดเมื่อมาถึงที่เกิดเหตเป็นต้น ด้านล่างสุดเป็นวิทยุสื่อสารที่โปรแกรมแชนแนลไว้ล่วงหน้ามีสองเครื่อง ในส่วนของ patient compartment ก็มีวิทยุเช่นกัน เชื่อมต่อกับตัวหน้า ถ้าเปลี่ยนช่องที่ตัวหลัง ตัวหน้าก็จะเปลี่ยนช่องไปด้วย ด้านหลังเป็นพื้นที่ผู้ป่วย spine board สองชิ้นเก็บใต้ที่นั่งยาว sharprs ontainer มีสองจุดเหตุที่สองเป็น homeless ที่นอนป่วยอยู่ข้างถนนใจกลาง downtown เพจเจอร์ของทั้ง paramedic และ emt-i ได้ดังพร้อมกัน เราไปถึงที่เกิดเหตุพร้อมกับ las vegas fire’s ambulance ที่เปิดไซเรนวิ่งมาจากทางตรงข้าม อีก 20 วิทนาทีรถตำรวจ อีก 1 คันมาจอดดูสังเกตการณ์ด้วย homeless นอนในท่าคว่ำหน้ากึ่งตะแคง ช่วยกันพยุง homeless ขึ้นนั่งบนเก้าอี้หลัง paramedic วัดความดัน สอบถามว่าทำไมถึงมานอนที่นี่ บ้านอยู่ไหน ฯลฯ homeless เริ่มร้องไห้ paramedic and emt-i ช่วยกันปลอบ พรอ้มวัด vital sign วัด blood sugar ได้ 72 นำส่งสถานดูแลคนไร้บ้าน (shelter) เป็นที่พักพิงชั่วคราวของ homeless ที่ไม่มีปัญหา medical emergency ได้งบส่วนใหญ่มาจากการบริจาคระหว่างทีรอเหตุต่อไป เราแวะกินอาหารแม็กซิกันข้างทาง
เหตุที่ 3-4 เป็นการ refer คนป่วยซึ่งน่าจะใช้ bls แต่ไม่มีรถ bls ว่างจึงจำเป็นต้องใช้หน่วยเรา มีการให้ iv กับคนป่วยในเหตุที่ 4 ขณะรถวิ่ง หลังจากเสร็จสิ้นเหตุที่ 4 ได้ไปพักทานอาหารที่ panda express เมื่อสั่งอาหารเสร็จและเริ่มกิน
ยังไม่ทันเริ่มกิน เพจเจอร์ของทั้งสองได้ดังขึ้นโดยเป็นเหตุ mvc ในจุดชานเมืองออกไปเล็กน้อย เราแพ็กอาหารและวิ่งขึ้นรถออกรถได้ภายใน 2 นาที ตลอดทางใช้ไซเรนและใช้ความเร็วสูง แต่เนื่องจากเป็นช่วงเร่งด่วนจึงมีรถติดบ้างเป็นระยะ มีการฝ่าไฟแดง 5 ครั้งและย้อนเลน 2 ครั้งปีนฟุตบาทเกาะกลางอีก 1 ครั้งเพื่อแซงรถที่จอดออกันอยู่ที่ไฟแดง ระหว่างทางรถส่วนใหญ่หลบทางให้โดยจอดชิดขอบทางรวมทั้งเลนรถสวน แต่ได้พบเห็นรถบางคันไม่เปิดทางให้รถพยาบาลเช่นเดียวกับที่ได้พบในเมืองไทย แต่ paramedic ไม่มีการเปลี่ยนเลนเพื่อแซงแต่จะคงอยู่บนเลนซ้าย (เลนเร็วสุด) จนกว่ารถคันหน้าจะเปิดทางให้เอง paramedic ทำไม้ทำมือให้สัญญาณในลักษณะไม่พอใจรถคันหน้า เสียงไซเรนของ federal signal ผ่านลำโพงของ whelen ที่ติดตั้งอยู่ใต้ฝากระโปรงหน้าส่งเสียงไซเรนได้พร้อมกัน 2 เสียงที่แตกต่างกัน เช่น เสียงที่หนึ่งเป็น wail เสียงที่สองอาจจะเป็นเสียง yelp, airhorn หรือ pierce ได้ในเวลาเดียวกัน เมื่อจะฝ่าไฟแดง รถพยาบาลจะจอดสนิทที่ไฟแดงทุกครั้งแล้วจึงค่อยออกตัวไป การฝ่าไฟแดงทุกครั้งจะมีการปรับเสียงไซเรนเป็นเสียงรัว (pierce) นัยว่าได้ผลดีที่สุด สลับกับ airhorn ไปถึงที่เกิดเหตุเป็นอุบัติเหตุรถปิคอัพกับรถเก๋ง
รถเก๋งซึ่งมีคนนั่ง 2 คนด้านหน้าได้ขับฝ่าสัญญาณ stop sign เนื่องจากมองไม่เห็น รถเก๋ง airbag ทำงานทั้งฝั่งคนขับ และฝั่งผู้โดยสารจุดปะทะอยู่ด้านขวาเยื้องไปยังด้านข้างรถฝั่งผู้โดยสาร เมื่อไปถึง clark county’s fire ไปถึงอยู่ก่อนแล้วใส่ collar คนเจ็บทั้งสองคนในรถ paramedic รีบลงไปตรวจสอบอาการเบื้องต้น เราเป็น ambulance ชุดแรกที่ไปถึง ส่วน emt-i ง่วนอยู่กับการเตรียม iv ในรถเพียงอย่างเดียว ไปถึงไม่เกิน 5 นาทีได้มีการนำคนเจ็บที่เป็นคนขับรถคันที่ก่อเหตุออกมาบน backboard และขึ้นรถพยาบาล คนเจ็บ alert ไม่หมดสติไม่พบบาดแผลที่ศีรษะ พบเพียงบาดแผลถลอกที่ข้อศอกขวาเท่านั้น การตรวจร่างกาย secondary survey ไม่พบสิ่งผิดปกติ ในช่วงนี้ clark firefighter ได้เข้ามาพูดคุยกับ paramedic เพราะคาดว่า ambulance ของ clark county คงจะมาถึงล่าช้าไปอีก 10 นาที จึงขอให้พวกเรา transport สองคน โดยคนแรกให้ยก backboard มาวางที่ที่นั่งยาว ส่วน คนเจ็บอีกคนเป็นคนเจ็บที่อยู่ฝั่งผู้โดยสาร ให้มาอยู่บน stretcher แทน
คนเจ็บคนที่สองอายุประมาณ 20 มีการให้ iv ให้ oxygen ผ่าน mask 15 litre per min ตัดเสื้อผ้าออกทั้งตัวบนรถเพื่อ visual survey การ immobilize ใช้ collar , head immobilizer และ backaord ทั้งสองคน แต่ดูเหมือนการรัดตัวคนเจ็บให้ยึดติดกับบอร์ดดูเหมือนยังไม่แน่นเท่าที่ควร
clark firefighter ที่เป็น paramedic ได้ขึ้นรถมาด้วย 1 คน ตำรวจเริ่มทยอยมาถึง เริ่มปิดกั้นที่เกิดเหตุและเริ่มวาง flare โดยรอบ ส่วน firefigher ที่เหลือให้การดูแลคนเจ็บในรถปิคอัพ และรอ clark ambulance มา transport นำคนเจ็บเดินทางส่ง trauma center ในเมืองซึ่งห่างจากที่เกิดเหตุพอสมควร (อุบัติเหตุบนถนนจะนำส่ง trauma center เท่านั้น ถ้าเกิดเหตุไกลจะใช้ mercy air ซึ่งเป็นคอปเตอร์ของโรงพยาบาล) ระหว่างทางใช้ไซเรนโดยตลอด มีอยู่ช่วงหนึ่งเสียงไซเรนขาดหายไป emt-i ไม่พอใจ ผมแนะนำให้ปิดทุกอย่างดูซัก 5 วินาทีแล้วเปิดใหม่ปรากฎว่าไซเรนใช้ได้อีกครั้ง การเดินทางผ่านฟรีเวย์ การจราจรติดขัดมาก รถพยาบาลอยู่เลนฉุกเฉิน (ไหล่ทาง) ด้านซ้ายสุดตลอด รถบางคันพยายามหลบให้แต่บางคันวางเฉย emt-i ขับรถไม่เร็วไม่กระชาก นัยว่าไม่ให้กระทบกระเทือนคนเจ็บ ไปถึง trauma center นำคนเจ็บส่งรายงานเหตุ และทำ paperwork จนเสร็จ เสร็จสิ้นภารกิจกลับฐาน ผมกล่าวขอบคุณ emt-i และ paramedic รวมทั้งขอบคุณ supervisor ที่ทำให้ผมได้มีโอกาส ride-along ได้ให้ patch นเรนทรแก่ emt-i และ paramedic เพื่อเป็นที่ระลึก กล่าวอำลาและแลกเบอร์โทรศ้พท์อีเมล์และที่อยู่และเดินทางกลับ san diego เป็นประสบกาณ์ที่ดีที่สุดประสบการณ์หนึ่งตั้งแต่มาอยู่ที่นี่
ขอขอบคุณบทความจาก
ems.fire2rescue.com
มูลนิธิร่วมกตัญญูรับมอบอุปกรณ์ประดาน้ำกู้ภัยจากโปนเมดิกส์
มูลนิธิร่วมกตัญญูรับมอบอุปกรณ์ประดาน้ำกู้ภัยจากโปรเมดิกส์
จากการที่ท่านประธานมูลนิธิร่วมกตัญญู คุณ รัตนา สมสกุลรุ่งเรือง ได้เห็นความสำคัญของการกู้ภัยทางน้ำว่าเป็นหน่วยซึ่งมีความจำเป็น กับงานของมูลนิธิเป็นอย่างมาก จึงมีนโยบายที่จะจัดหาอุปกรณ์ประดาน้ำชุดใหม่มาทดแทนของเดิมที่เสื่อมสภาพมีอายุกว่า10 ปี ในการนี้ท่านได้ไว้วางใจมอบหมายให้โปรเมดิกส์ เป็นผู้จัดหาอุปกรณ์ทั้งหมด ภายใต้ข้อกำหนดที่ว่าทุกอย่างต้องเป็นของดีที่สุดเพราะใต้น้ำไม่มีโอกาสผิดพลาด เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานสำคัญทุกคนจะไม่เอาชีวิตไปเสี่ยงกับชุดที่ไม่มีมาตรฐาน ชุดมือสองเด็ดขาด โดยการเลือกชุดในครั้งนี้เราได้เลือกใช้อุปกรณ์ทั้งหมดของ SCUBAPRO ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยจัดอุปกรณ์ให้เหมาะกับงานค้นหาใต้น้ำ เช่นเสื้อ BCD เลือกรุ่นที่เรียบ กระเป๋าน้อย เมื่อนอนค้นหาใต้ผิวน้ำจะไม่เกี่ยวกับกิ่งไม้ต่างๆใต้น้ำ หรือเครื่องอัดอากาศเลือกรุ่นขนาดกลาง สามารถเคลื่อนย้ายได้ ใช้กระแสไฟฟ้า 220V. ซึ่งนี่เป็นหนึ่งข้อที่แตกต่างจากมูลนิธิอื่นซึ่งนิยมใช้เครื่องยนต์มากกว่า แต่ปัจจุบันทุกที่เกิดเหตุที่เราไปล้วนมีกระแสไฟฟ้าถึงหมดแล้ว และการอัดอากาศก็ไม่จำเป็นต้องทำที่หน้างานก็ได้ อาจไปขอกระแสไฟจากโรงพักท้องที่ ซึ่งเครื่องที่ใช้ไฟฟ้า 220 V. นี้เครื่องจะเงียบ บำรุงรักษาง่ายกว่า
นอกจากนี้โปรเมดิกส์ยังร่วมสนับสนุนอุปกรณ์กู้ภัยบนผิวน้ำเช่น เรือยาง เรือเร็ว เชือกลอยน้ำ ชูชีพ ในกรณีเกิดน้ำท่วม น้ำหลาก สามารถช่วยผู้ประสบภัยที่ยังลอยคออยู่ได้ด้วย
ค้นหาเครื่องบินสูญหายที่เขาใหญ่
โปรเมดิกส์ สบับสนุนอุปกรณ์เชือกกู้ภัยเพื่อใช้กับเฮลิคอร์ปเตอร์ของกองทัพบก หน่วยบินเกษตร เพื่อร่วมกันค้นหาผู้ประสบภัย
จากเหตุเดครื่องบินฝึกบินตกในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ โดยมีพี่น้องกู้ภัยจากมูลนิธิในเคลือสว่างทั้งจากจังหวัดนครราชสีมา
สระบุรี ปราจีนบุรี รวมทั้งมูลนิธิร่วมกตัญญูก็ส่งรถพยาบาลจากกรุงเทพและอาสาสมัครจากจังหวัดสระบุรี ปราจีนบุรีเข้าร่วมเช่นกัน งานนี้ถึงไม่ประสบความสำเร็จในการค้นหาแต่ได้ความสามัคคีมากจริงๆ
พิธีมอบรถพยาบาล
เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2550 เวลาประมาณ 09.00 น. มูลนิธิประชาร่วมใจ จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้รับมอบรถพยาบาลเพื่อใช้ในกิจการสาธารณกุศล ในจังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดใกล้เคียง ซึ่งสนับสนุนโครงการโดย กองทุนเชาว์ – พูนสุข แสงอุไรพร, บริษัทเอช ไลฟ์ เเอสชัวรันส์จำกัด , มร.อลัน ตัน และผู้มีส่วนร่วมในธุรกิจประกันชีวิต โดยได้รับเกียรติจาก คุณ มนตรี แสงอุไรพร กรรมการผู้จัดการบริษัทฟินันซา ประกันภัยจำกัด เป็นตัวแทนมอบ รถพยาบาลให้แก่หน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินมูลนิธิประชาร่วมใจ จัดขึ้น ณ สำนักงานชั่วคราว มูลนิธิประชาร่วมใจ วัดบูรณาราม ซึ่งได้รับเกียรติจากข้าราชการผู้ใหญ่และบุคคลสำคัญหลายท่าน ให้เกียรติเข้าร่วมรับมอบรถพยาบาลเพื่อสาธารณกุศล ดังนี้
1. นายไกรลาศ แก้วดี นายอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช
2. พล.ต.ต.สุดใจ ญาณรัตน์ ผบ.ภจว.นศ.
3. น.พ.นพพร ชื่นกลิ่น นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช
4. น.พ.ประวิง เอื้อทัช รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราช
5. ดร.กณพ เกตุชาติ ที่ปรึกษาฝ่ายบริหารนายกเทศมนตรีเทศบาลนคร นครศรีฯ
นอกจากนั้นยังได้รับเกียรติจากบุคลากรของหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ศูนย์นเรนทรนครศรีธรรมราช มาร่วมในพิธีครั้งนี้ด้วย
1. น.พ.จำเริญ วัฒนศรีสิน หัวหน้าศูนย์นเรนทรนครศรีธรรมราช
2. นางจุรีพร วรรธนเลปกร พยาบาลกู้ชีพ ศูนย์นเรนทรนครศรีธรรมราช
3. น.พ.ทรงศักดิ์ นาคสังข์ ทันตแพทย์ 8
ประจำสังนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช รวมทั้งกรรมการ , ที่ปรึกษามูลนิธิฯ และผู้มีเกียรติมากมายของจังหวัดนครศรีธรรมราช ร่วมในพิธีมอบดังกล่าว ซึ่งในพิธีมอบรถพยาบาลเพื่อสาธารณกุศลครั้งนี้ ทางคุณมนตรี แสงอุไรพร ได้มอบเงินสนับสนุนวัดบูรณาราม , สถานสงเคราะห์บ้านเด็กศรีธรรมราชและสถานสงเคราะห์ผู้ไร้ที่พึ่ง อำเภอสิชลอีกด้วย เพื่อใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ หลังเสร็จพิธี คุณมนตรี แสงอุไรพร ซึ่งเป็นตัวแทนในการมอบ ได้กล่าวว่า รถพยาบาลคันนี้ เป็นความร่วมมือกันระหว่างผู้มีส่วนร่วมในธุรกิจประกันภัย และกองทุนเชาว์ – พูนสุข แสงอุไรพร ซึ่งเป็นบิดา และ มารดา ของคุณมนตรีเอง โดยท่านได้กล่าวอีกว่า รถพยาบาลคันนี้ ได้ประกอบและติดตั้งอุปกรณ์ที่ทันสมัยตามมาตรฐานของยุโรป อีกทั้งยังเป็นไปตามระเบียบที่ถูกต้องของกระทรวงสาธาณสุขในระดับพื้นฐานที่สามารถออกให้บริการได้ ซึ่งการประกอบและออกแบบติดตั้งอุปกรณ์ทั้งหมด ดำเนินงานโดยร้านโปรมิดิกส์ ที่สำคัญ ในวันพรุ่งนี้ วันที่ 15 กันยายน 2550 จะเป็นวันแรกของการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 36 นครศรีธรรมราชเกมส์ ดังนั้น รถพยาบาลคันนี้ ก็จะได้เปิดตัวและออกให้บริการสำหรับงานระดับชาติเป็นครั้งแรก ซึ่งนับว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดียิ่งในการประชาสัมพันธ์รถพยาบาลอีกทางหนึ่ง และตั้งเป้าหมายเอาไว้ว่า รถพยาบาลคันนี้ จะได้ออกช่วยเหลือผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาล ได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งด้านอุปกรณ์และบุคคลากร ซึ่งก่อนหน้านี้ ท่านก็ได้สนับสนุน ร่วมใจ 06 ซึ่งประจำอยู่ที่ อำเภอขนอมมาแล้ว 1 คัน และท่านได้กล่าวขอบคุณแขกผู้มีเกียรติทุกท่านที่มาร่วมงานครั้งนี้
ส่วนพระบุญฤทธิ์ หงส์ประสาธน์ ประธานกรรมการมูลนิธิประชาร่วมใจ ได้กล่าวขอบคุณ
คุณมนตร ี แสงอุไรพร แทนชาวนครศรีธรรมราช ที่ได้รับการสนับสนุนรถพยาบาลเพื่อใช้ในกิจการสาธารณกุศล เพิ่มขึ้นอีก 1 คันของจังหวัดนครศรีธรรมราช และนับว่า เป็นมูลนิธิเพื่อสาธารณกุศลแห่งแรกของจังหวัดนครศรีธรรมราชที่มีรถยาบาล ออกให้บริการ โดยใช้นามเรียกขานของรถพยาบาลคันนี้ว่า รถพยาบาล 07
เคลื่อนย้ายผู้ป่วยทางอากาศ
โปรเมดิกส์ ให้การสบับสนุนเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์เครื่องช่วยหายใจ ถังอ็อกซิเจน เพื่อเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากกรณี
ทานหน่อไม้กระป๋องแล้วเป็นพิษ ที่จ.น่านเพื่อมารักษาต่อที่กรุงเทพมหานคร โดยใช้เครื่องบิน C-130 กองทัพอากาศโดยมีเวชศาสตร์
การบินกองทัพอากาศ เป็นหน่วยหลัก และมีทีมจากหน่วยงานต่างๆเข้ามาร่วมสนธิกำลังกันมากมาย เพราะครั้งนี้เป็นครั้งแรกในการ
เคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจทางอากาศพร้อมกันถึง 16 คน โดยต้องประกอบเตียงในเครื่องบินซ้อนกันถึง 2 ชั้น และต้องมีการออกแบบการใช้ระบบอ็อกซิเจนสำรองจำนวนมาก.
การสาธิตในรายการ วันวานยังหวานอยู่
โปรเมดิกส์ ร่วมกับมูลนิธิร่วมกตัญญูนำอุปกรณ์กู้ชีพ กู้ภัยสาธิตในรายการ วันวานยังหวานอยู่ เพื่อเผยแพร่ความรู้ให้กับประชาชน ให้ทราบถึงการทำงานของมูลนิธิ หน่วยกู้ภัย ในการนี้เราได้นำอุปกรณ์กู้ภัยที่ทันสมัยเช่นเครื่องตัดถ่งไฟฟ้าชนิดสะพายหลังผลิตภัณฑ์ Powerhawk จากประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นผู้ผลิตเดียวกับผู้ผลิตเครื่องบิน F-16 มาแสดงในรายการนี้ด้วย